ประวัติศาสตร์

การปฏิวัติกำมะหยี่ 1989

เป็นที่แน่นอนเลยว่าปีที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ปีหนึ่งในสายตาประชาชนชาวยุโรปตะวันออกและกลางคือปี 1989 รัฐบาลคอมมิวนิสต์หลายชุดถูกล้มล้างอำนาจอย่างถาวรและกำแพงเบอร์ลินได้ถูกทำลายลงในที่สุดเพื่อรวมเยอรมันตะวันออกและตะวันตกเป็นหนึ่งเดียวและผสานรวมกันเป็นประเทศเยอรมันในทุกวันนี้  เมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น รัฐบาลของเชโกสโลวาเกียได้จับตามองอย่างกระวนกระวายด้วยรู้ว่าตนอาจเป็นรายถัดไปที่ถูกการปฏิวัติกวาดล้างได้

ภายในเชคโกสโกวาเกียมีทั้งกระแสความตื่นเต้นและกังวลคละกันไปด้วยที่ประชาชนต่างต้องการล้มล้างรัฐบาลของตนแต่ยังกังวลว่าการเปลี่ยนแปลงอำนาจนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร  จนกระทั่งวันที่ 17 พฤศจิกายน 1989 ประชาชนจึงได้เห็นถึงวิธีการในการดำเนินการนี้ เพราะเป็นวันแห่งการเคลื่อนไหวของเยาวชนคอมมิวนิสต์ที่จัดการเดินขบวนในกรุงปรากเพื่อระลึกถึงผู้ที่ถูกนาซีสังหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการเดินขบวนที่ตำรวจเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงส่งผลให้มีการจับกุมผู้คนจำนวนมากและมีผู้บาดเจ็บมากมายจากการเดินขบวนนี้

เหตุการณ์นี้ขับเคลื่อนให้ผู้คนในเชโกสโลวาเกียลุกฮือขึ้นต่อสู้ด้วยกำลังของตนเอง  ความโกรธแค้นแผ่ขยายไปไม่เพียงใช้ความรุนแรงไร้แบบแผนเท่านั้น ยังมีการเดินขบวนของผู้คนจำนวนมากเพื่อต่อต้านรัฐบาลที่อยู่ในตำแหน่งด้วย โดยกลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่ในเลียตน่า (Letna) ซึ่งมีผู้มาเข้าร่วมถึง 750,000 คน  ผู้นำแถวหน้าคนหนึ่งของกลุ่มผู้ประท้วงคือชายผู้หนึ่งที่มีชื่อว่าฮาเวล (Havel) ผู้ซึ่งเข้าร่วมการเจรจากับรัฐบาลและในที่สุดก็ทำให้รัฐบาลต้องลาออกไปในวันที่ 3 ธันวาคม 1989  ภายหลังจากนี้ไม่นานจึงได้จัดตั้ง “รัฐบาลแห่งความเข้าใจของชาติ” ขึ้นซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมืองหลายพรรคโดยที่ฮาเวลได้รับการคัดเลือกให้ขึ้นเป็นผู้นำ

เนื่องจากวิธีการที่ชาวเชโกสโลวาเกียใช้จัดการเหตุการณ์นี้ได้โดยสงบ ปฏิบัติการนี้จึงได้รับการเรียกว่าการปฏิวัติกำมะหยี่  แต่ยังคงมีปัญหาคั่งค้างในประเทศอยู่เมื่อฝั่งตะวันออกหรือสโลวาเกียลุกฮือขึ้นด้วยความโกรธเนื่องจากอำนาจและการเงินต่างมุ่งเน้นเพียงฝั่งตะวันตกเท่านั้น  ทำให้เกิดเหตุการณ์ในปี 1993 ขึ้นเมื่อเกิดการตัดสินใจแยกประเทศเป็นสองชาติ สโลวาเกียและสาธารณรัฐเช็กจึงถือกำเนิดขึ้น

การปฏิวัติกำมะหยี่ 1989

กรุงปรากภายหลังการปฏิวัติกำมะหยี่

เหมือนดังเช่นเมืองอื่นในโลก กรุงปรากได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มามากมายตั้งแต่ปลายช่วงปี 1980 จนถึงต้นยุค 1990  มุมมองที่ใหญ่ที่สุดมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์ปัจจุบันของสาธารณรัฐเช็กคือการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีส่วนร่วมกับประชาคมโลกโดยมีกรุงปรากเป็นศูนย์กลาง  เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือการเข้าร่วมกับนาโต้และอียูในปี 1999 และ 2004 ตามลำดับ

สถานการณ์ทางการเมืองเป็นไปอย่างมั่นคงและประชาธิปไตยได้แผ่ขยายไปทั้งเมืองและทั่วประเทศ  มีผู้สนับสนุนพรรคหลักทั้งสองพรรค คือพรรคประชาธิปไตยเพื่อปวงชน (Civic Democratic Party) และพรรคประชาธิปไตยเพื่อสังคม (Social Democratic Party) ทั้งสองพรรคยังไม่เคยชนะการเลือกตั้งแบบเด็ดขาดเลยสักครั้ง เนื่องจากมีผู้สนับสนุนใกล้เคียงกัน ซึ่งทำให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลผสมในปี 2010 โดยมีนายวาคลัฟ เคลาอุส  (Vaclav Klaus) รับตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ

เมืองปรากเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวา อุดมสมบูรณ์และเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกแห่งชัยชนะความสำเร็จอันเนื่องมาจากทุกสิ่งที่ได้บรรลุตามเป้าหมายมาในช่วงอดีต  ความทรงจำก่อนช่วงการปฏิวัติกำมะหยี่ยังคงอยู่ในความนึกคิดของผู้คนจำนวนมากและเป็นช่วงเวลาที่พวกเขาไม่มีวันลืมได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button