ประวัติศาสตร์

มรดกของชาวยิวแห่งกรุงปราก

เมื่อ 2000 ปีที่แล้ว ชาวโรมันทำการขับไล่ชาวยิวจากอิสราเอล (ดินแดนศักดิ์สิทธิ์) อย่างไรก็ตาม “โตราห์เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาที่ไม่มีกองทัพจะสามารถทำลายได้” และผ่านมาหลายศตวรรษ วัฒนธรรมของชาวยิวก็มีชีวิตรอดมาจากวงล้อมทั่วโลก ชาวยิวได้เริ่มเข้ามาในกรุงปรากระหว่างศตวรรษที่ 10 ที่ทางเชื่อมหลักของจัตุรัสชาวยิว (Široká และถนน Maiselova) คือสถานที่ที่ 2 วัฒนธรรม มาทำการแลกเปลี่ยนค้าขายกัน

Old Jewish Cemetery

หลังจากสงครามครูเสดศตวรรษที่ 12 พระสันตปาปาได้กล่าวว่าให้ชาวคริสเตียนกับชาวยิวต้องแยกออกจากกัน ชาวยิวถูกบังคับให้ใส่ตราสีเหลือง และที่อยู่อาศัยของพวกเขาถูกกั้นกำแพงและกลายมาเป็นสลัมในที่สุดระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 กรุงปรากคือ 1 ในสถานที่ที่มีสลัมใหญ่ที่สุดในยุโรป ด้วยผู้อยู่อาศัยกว่า 11,000 คน ภายในจำนวน 6 ประตู ที่พักของชาวยิวในกรุงปรากเป็นอาคารที่สร้างจากไม้กว่า 200 หลัง หลายคนกล่าวว่านั้นคือ “รัง” มากกว่าที่จะเรียกว่า “ที่อาศัย”

“คนที่ถูกขับไล่” ของศาสนจักรเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับการทำผลกำไรในการให้กู้ยืมเงิน (ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามของชาว คริสเตียนในการทำแบบนี้) และเป็นการสนับสนุนชุมชนเพื่อความอยู่รอด และการจ่ายเงินสำหรับค่าคุ้มครอง (พระราชาได้ทำการเก็บภาษีอย่างหนักกับชุมชนชาวยิว) มันเป็นความเสียเปรียบเกิดทั่วไปทั้งยุโรป เมื่อมันเป็นไปอย่างยากลำบากชาวคริสเตียนทำการเรียกเก็บหนี้สินกับชาวยิว ชุมชนชาวยิวทั้งหมดถูกสังหารหรือไม่ก็ขับไล่

ระหว่างปี 1780 จักรพรรดิโจเซฟที่ 2 ได้ทำการกำจัดการแบ่งแยกชนชั้นชาวยิวออกไป เนื่องมาจากความน่าวิตกทางเศรษฐกิจและความเสรีภาพในเรื่องศาสนา ระหว่างปี 1848 กำแพงของแถบที่อยู่ชาวยิวถูกพังลง และผู้คนต่างเรียกจักรพรรดิว่า Josefov เพื่อเป็นการเชิดชูองค์จักรพรรดิที่ริเริ่มขั้นแรกของการมีเสรีภาพ รวมทั้งย่านตัวเมืองเก่าด้วย

ระหว่างปี 1897 Josefov ได้ทำการแก้ไขตัวเมืองโดยมีการลดและสร้างทดแทน แรกเริ่มมีอาคาร 220 หลัง และ ถนน 31 สาย กลายมาเป็น อาคาร 83 หลัง และถนน 10 สาย วันนี้ นี่คือสิ่งที่คุณจะเห็น สภาพบ้านเรือนที่น่าดึงดูด อาคารศิลปะ ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างของชาวยิวหลงเหลืออยู่เล็กน้อย ในปี 1930 ชุมชนชาวยิวของกรุงปรากได้ประสบความสำเร็จ ต้องขอบคุณความสามารถของพวกเขาที่ธรรมชาติให้มา ความเฉพาะตัวในประเทศเล็กๆ ในยุโรปกลาง ตามคำพูดของ Robert Musil (นักแต่งนิยายชื่อดังชาวออสเตรีย) กล่าวว่า “ความดื้อรั้นในการยอมให้ผู้อื่นมุ่งไปข้างหน้า”

ชาวยิวจำนวน 120000 คน ที่อยู่ในละแวกนี้ระหว่างปี 1939 มีเพียง 10,000 คนเท่านั้นที่รอดจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อจะได้เห็นการปลดปล่อยในปี 1945 ทุกวันนี้มีเพียง 3,000 คนเท่านั้น ที่ถูก “บันทึก” ว่าอยู่ในประเทศเช็ก และในจำนวนเหล่านี้ 1,700 คน อาศัยอยู่ที่กรุงปราก (ที่จริงแล้วมีชาวยิวมากกว่านี้แต่จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมากับคอมมิวนิสและนาซี คุณจะทราบว่าทำไมพวกเขาไม่ยอมเข้าลงทะเบียน) นอกเหนือจากเรื่องจำนวนคนแล้ว สิ่งที่หลงเหลือจากชุมชนชาวยิวจะยังคงอยู่ต่อไปในยุคสมัยใหม่แห่งกรุงปราก

Franz Kafka Satute

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button