ประวัติศาสตร์

ปรากภายใต้ระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์

ภายหลังสงคราม เชโกสโลวาเกียได้กลับเป็นประเทศอิสระอีกครั้งหนึ่ง โดยมีประธานาธิบดีเบเนช(Beneš)ปกครอง จนกระทั่งสงครามเย็นเริ่มขึ้น  สงครามเย็นนี้ยังได้ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องจากหลายฝ่ายในเชโกสโลวาเกียให้ปกครองประเทศตามแนวคิดคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการแพร่กระจายไปทั่วทั้งภูมิภาค และเพียงไม่กี่ปีหลังจากนั้น เสียงข้างมากเพื่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี 1948 เบเนชจึงได้ออกจากตำแหน่งและพรรคคอมมิวนิสต์จึงเข้าปกครองประเทศแทน โดยมีเคลเมนต์ กอตต์วัลด์ (Klement Gottwald )ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้าปกครองแล้ว ชาวเยอรมันจำนวน 3.5 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศเชโกสโลวาเกียได้ถูกผลักดันให้กลับประเทศเยอรมันไปแม้ว่าบรรพบุรุษของพวกเขาได้อาศัยอยู่ในเชโกสโลวาเกียมาหลายรุ่นแล้วก็ตาม  ในพื้นที่หนึ่งที่มีชาวเยอรมันกลุ่มน้อยถูกผลักดันไปอย่างในดินแดนสุเดเตน (Sudetenland) ยังคงถกเถียงกันทางการเมืองและทางสังคมถึงการกระทำเช่นนี้อยู่จนถึงทุกวันนี้ซึ่งมีข้ออภิปรายหลายประเด็นถึงความถูกต้องทางกฎหมายรวมถึงหลักจริยธรรมในการกระทำนี้

ปรากภายใต้ระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์

พรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจอยู่ถึง 41 ปีตั้งแต่ปี 1948 จนถึงปี 1989 และตลอดช่วงเวลานี้ไม่มีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นสักเท่าไหร่  รัฐเป็นผู้ถือครองทรัพย์สินส่วนบุคคลเกือบทั้งหมดและอิสรภาพที่ชาวยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ได้รับกลับถูกริบรอนไปจากพลเมืองชาวเช็ก  ประเทศถูกปกครองด้วยแถลงการณ์ที่สร้างความหวาดหวั่นและประชาชนต่างเกรงกลัวที่จะพูดต่อต้านบรรดาชนชั้นปกครองที่ใช้การควบคุมที่รุนแรงและโหดเหี้ยม 

เหตุการณ์เดียวที่เกิดขึ้นระหว่างการปกครองอันแสนยาวนานนี้คือการสร้างความหวังในหัวใจของชาวเช็กที่เกิดขึ้นในปี 1968 ซึ่งเรียกกันว่าเหตุการณ์ปรากสปริงอัพไรซิ่ง (Prague Spring Uprising -การก่อตัวของความคิดใหม่ในปราก)  ซึ่งมีจุดตั้งต้นมาจากประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ดูบเชกที่ต้องการให้ “ความเป็นมนุษย์” แก่ระบบสังคมนิยม และทำให้มีผู้คนจำนวนมากเข้าร่วมการเดินขบวนและประท้วงเพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้  หลังจากนั้นไม่นานดูบเชกได้รับการร้องขอให้ไปเยือนกรุงมอสโกและเมื่อกลับประเทศมา แนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับแผนการนี้ได้ถูกล้มเลิกไปเนื่องจากมีรถถังรัสเซียจำนวนมากวิ่งตามท้องถนนในกรุงปรากเพื่อสลายกลุ่มผู้สนับสนุนนโยบายนี้  นอกจากนี้ยังทำให้ดูบเชกถูกปลดลงจากตำแหน่งและกุสตาฟ ฮูซัค มาเป็นผู้นำแทนตลอดช่วงปี 1970 จนถึง 1980

แม้ว่าการปราบปรามช่วงปรากสปริงอัพไรซิ่งจะหมายถึงโฉมหน้าของผู้ต่อต้านได้ถูกขจัดไปก็ตาม แต่ยังคงมีการเคลื่อนไหวใต้ดินอยู่  มีการก่อตั้งกลุ่มชาร์เตอร์ 77(Charter 77) เพื่อติดตามระบบการเมืองจนยุคคอมมิวนิสต์ล่มสลาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button