เบียร์ของเช็ก
น้ำสีเหลืองอำพันของเช็กที่เรียกว่า “ปรีโว” ‘Pivo’ ซึ่งหมายถึง เบียร์
เบียร์ของเช็กเป็นที่นิยมระดับโลก และเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวเช็ก ที่ผ่านมาหลายๆศตวรรษเบียร์เช็กผลิตออกมาได้คุณภาพมาตราฐานอย่างดีที่สุด ความเด่นที่รสชาดของเบียร์เช็กได้มาจากการเก็บผลจากต้นโบฮีเมียนฮอฟด้วยมือ (Bohemian hops) สาธารณะรัฐเช็กเป็นผู้บริโภคเบียร์รายใหญ่ที่สุดของโลก (โดยเฉลี่ยแล้วตก 153.6 ลิตรต่อคนต่อหนึ่งปี) และได้ลบสถิตที่ประเทศเยอรมันได้เคยทำได้ด้วย ซึ่งก็หมายความว่าสำหรับผู้ใหญ่ที่ดื่มได้ดื่มเบียร์อย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 1 ลิตร เบียร์ประเภทหลักๆที่ได้ผลิตในกรุงปรากคือลาร์เกอร์ Lager คือกการหมักด้วยยีสต์พอเสร็จขบวนการหมักแล้วจะถูกเก็บไว้ในห้องเย็นเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก่อนนำออกบริโภค เบียร์ที่ดีที่สุดเริ่มต้นที่เบียร์ Pilsner Urquell และเบียร์ Budvar (Budweis) แต่กรุณาอย่าสับสนกับชื่อของเบียร์ระหว่างเบียร์อเมริกัน บัดไวด์เซอร์ Budweiser และเบียร์เช็ก บัดวาร์ Budvar ไม่มีอะไรที่ไกล้เคียงกันเลยระหว่างเบียร์สองยี่ห้อนี้ ยี่ห้อของเบียร์เช็กที่เป็นที่นิยมได้รวมไปถึงเบียร์ Gambrinus เบียร์ Staropramen เบียร์ Krusovice เบียร์ Radegast และเบียร์ Velkopopovicky Kozel ถ้าหากคุณต้องการลิ้มลองเบียร์แต่ละยี่ห้อและต่างพื้นที่ แต่ละยี่ห้อก็มีรสชาดเป็นของตัวเอง ลองทดสอบกับเบียร์ที่มาจากโรงหมักขนาดเล็กอย่างเบียร์ NovoMestsky Pivovar โดยได้ผลิต ฟลิค Flek ซึ่งเป็นเบียร์ดำ และเบียร์ดำอีกชนิดหนึ่งที่ทำจากข้าวมอลต์ (Ale) เบียร์ Velvet ผลิตจากโรงกลั่นเบียร์ในเมือง ออสตราว่า (Ostrava) ถ้าหากคุณนิยมชมชอบกับเบียร์กินเนตส์ (Guinness) ลองทดสอบรสชาติของเบียร์เช็กที่มีชื่อเรียกว่า Kelt นอกเหนือจากโรงกลั่นเบียร์ต่างๆแล้วยังมีร้านอาหารมากกว่า 20 ร้านที่มีโรงหมักกลั่นเบียร์เล็กๆของตัวเอง ซึ่งคุณสามารถที่จะขอติดตามดูขั้นตอนการทำเบียร์ได้ด้วยตัวคุณเอง แต่ร้านที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือร้าน U Fleku ได้ทำการหมักเบียร์เองตั้งแต่ปีค.ศ. 1499 เป็นต้นมา เบียร์ที่นี่โดยปรกติแล้วจะเสริฟในแก้วที่มีความจุครึ่งลิตร ถ้าคุณต้องการแก้วที่เล็กกว่านั้นคุณต้องขอเองอย่างน้อย 0.3 สิตร ชาวเช็กทั่วไปแล้วจะโปรดปรานเบียร์ที่มีดีกรีนุ่มๆอย่าง Light Beer แต่หากว่าในผับทั้งหลายแหล่นั้นคุณสามารถที่จะสั่งเบียร์ดำที่มีรสหวานหรือเบียร์ผสมต่างๆได้เช่นกัน
ปริมาณของแอลกอฮอล์
คาดว่าคุณได้ผ่านการดื่มเบียร์สดมาบ้างแล้วเป็นส่วนใหญ่และยี่ห้อที่ดังสุดๆคือ เดสซิสก้า “desítka” (สิบ) เบียร์นี้มีความจุปริมาณของแอลกอฮอล์มากกว่า 4% และเบียร์ประเภท”ลาร์เกอร์”ด้วย ยี่ห้อที่เรียกว่า “dvanáctka”(สิบสอง) ซึ่งมีความจุปริมาณของแอลกอฮอล์อยู่ประมาณ 5.5% บางทีคุณอาจจะเจอเบียร์ที่พิเศษหน่อยที่มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่มากกว่าที่กล่าวมา
ประเภทของเบียร์เช็กและขนาด
โดยทั่วไปเบียร์เช็กจะแบ่งออกเป็นเบียร์สด เลเกอร์และเบียร์พิเศษ ซึ่งเป็นไปตามความเข้มข้นของมอลต์ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้นำระบบใหม่มาใช้เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับประเทศอื่นของยุโรป เบียร์เช็กจึงเป็นหนึ่งในสี่กลุ่มใหญ่ซึ่งแบ่งตามสี ได้แก่ เบา (světlé) กึ่งเข้ม (polotmavé) เข้ม (tmavé) และคัต (rězané) ในกลุ่มเหล่านี้ยังแบ่งออกเป็น 11 กลุ่มย่อยตามระดับของแอลกอฮอล์ น้ำตาล ธัญพืชและยีสต์ ตลอดจนวิธีการปรุงแต่งเบียร์ แต่ความสับสนนี้ทำให้ผับยังคงใช้ระบบเก่าที่แยกแยะตามความเข้มข้น (ของมอลต์ที่มี)
เบียร์ครึ่งลิตร (เทียบเท่ากับไพน์) เรียกว่า velké (ใหญ่) และสามส่วนของลิตร (มากกว่าครึ่งไพน์) เรียกว่า malé (เล็ก)
บรรยกาศของผับชาวเช็ก
เมื่อการดื่มในผับที่อบอวนไปด้วยควันบุหรี่ คราบที่หลงเหลืออยู่ที่ผ้าปูโต๊ะ และแน่นอนว่าการบริการจะเริ่มมีการคลางแคลงสงสัยเกิดขึ้น ไม่ว่าคุณจะถูกชาร์ตเกินราคาหรือไม่ ถ้าหากว่าคุณดื่มเบียร์น้อยกว่าครึ่งโหลของแก้วมัคคุณจะตกเป็นเป้าสายตาในทันที หากว่าคุณได้ดื่มไปแล้วสิบแก้วและตอนนี้คุณก็สามารถที่จะเดินจากไปด้วยความภาคภูมิของตัวคุณอย่างเต็มที่
เกล็ดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับความเป็นมาของเบียร์เช็ก
ก่อนหน้าปีค.ศ. 1842 เบียร์ต่างๆที่ได้ผลิตออกมาบ้างก็เป็นสีดำหรือไม่ก็สีม่นๆขมุ่กขมัว จนกระทั่งมีผู้ช่ำชองแห่งการหมักเบียร์ที่เป็นคนช่างคิดอยู่นายหนึ่งได้รังสรรค์เบียร์แรกของโลกที่มีสีออกสีทอง และจากนั้นเป็นต้นมาการวิวัฒนาการครั้งนั้นก็ทำให้อุปสรรคหมดไปได้เกิดขึ้นที่เมือง Pilsen ที่ยังคงอยู่ทุกวันนี้ของชาวประเทศสาธารณะรัฐ ส่วนของเมืองที่กล่าวถึงและที่ได้ผลิตได้สร้างชื่อในรูปแบบใหม่ของเบียร์ Pilsner คนที่โปรดปรานในการดื่มเบียร์จากทั่วทุกแห่งในโลกได้มาแวะเยี่ยมเยียนเมือง Plzen โดยไม่ขาดสาย ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นนครเมกะของโรงหมักเบียร์